Powered By Blogger

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่11

 การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครู
รองศาสตราจารย์ ดร.เมธี ปิลันธนานนท์*  สารานุกรมวิชาชีพครู  เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา หน้า ๓๑๑๓๑๗
ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานด้านความรู้ก็ดี มาตรฐานด้านประสบการณ์และทักษะวิชาชีพก็ตาม จะต้องถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กร หรือสมาคมวิชาชีพของแต่ละวิชาชีพ ดังตัวอย่าง เช่นอาชีพด้านกฎหมายก็มีสภาทนายความ อาชีพด้านสถาปัตยกรรมก็มีสถาปนิกสมาคม อาชีพทางด้านการแพทย์ก็มีแพทยสภา อาชีพด้านการพยาบาลก็มีสมาคมการพยาบาลหรืออาชีพด้านการศึกษาก็มีคุรุสภา เป็นผู้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพของตนตามความมุ่งประสงค์ดังกล่าวข้างต้น การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ หากมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไม่มีมาตรฐาน หรือมาตรฐานต่ำ ก็ย่อมเป็นตัวบ่งชี้ชัดเจนว่า ระบบการศึกษาจะสร้างหรือพัฒนาประชาชนให้มีคุณภาพที่จะมีชีวิตที่ก้าวหน้าและเป็นสุขได้ยากลำบาก ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีสมาคมวิชาชีพด้านการศึกษาดูแลเรื่องมาตรฐานการอาชีพของครู และของผู้บริหารที่เรียกว่า “Professional Standard Boards” (KY: Education Professional Standards Board Website: available at,file//G:\Prostan10.htm) ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้นมีความสำคัญ นอกจากนั้นก็จะมีคณะกรรมการวิชาชีพทางการศึกษาในแต่ละเขต แต่ละท้องที่ และแต่ละรัฐ เพื่อความพยายามให้ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาได้ปฏิบัติหน้าที่ให้ถึงมาตรฐานขั้นต่ำของวิชาชีพ เป็นต้น ส่วนมาตรฐานวิชาชีพการศึกษาของประเทศไทย ก็ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยคุรุสภา ซึ่งการกำหนดมาตรฐานดังกล่าวได้ผ่านการศึกษาค้นคว้าทั้งในรูปของการวิจัย และใช้ประโยชน์ผลการวิจัย การศึกษาเอกสารการประชุมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ และอื่นๆ เพื่อประมวลข้อมูลมากำหนดเป็น มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเช่นนี้เป็นต้น
มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด (CIPD-Professional Standard: available at, file://G:\ProfStand11.html) โดยความหมายดังกล่าว วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมตรฐานในการประกอบแอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
สำหรับความหมายของคำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา มีความหมายที่เป็นอาชีพชั้นสูงเช่นเดียวกับอาชีพชั้นสูงอื่นๆ เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนายความ พยาบาล และอื่นๆ แต่ที่มีความต่างที่สำคัญก็เพราะมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน คือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา :สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๔) เช่น
มาตรฐานวิชาชีพครูมีความหมายครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ คือ
๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง โดยต้องมีสาระความรู้และสมรรถนะตามมาตรฐานในเรื่องต่อไปนี้
- ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู
- การพัฒนาหลักสูตร
- การจัดการเรียนรู้
- จิตวิทยาสำหรับครู
- การวัดและประเมินผลการศึกษา
- การบริหารจัดการในห้องเรียน
- การวิจัยทางการศึกษา
- นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
- ความเป็นครู
มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน
- การฝึกปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
- ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
- ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
- มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
- พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
- พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
- จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
- รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
- ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
- ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
- ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
- แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
- สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์
๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้องประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
- จรรยาบรรณต่อตนเอง
- จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
- จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
- จรรยาบรรณต่อสังคม
พื้นฐานและแนวคิด
โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ มิใช่มีไว้เพื่อมุ่งในการควบคุมหรือกำกับผู้ประกอบวิชาชีเท่านั้น หากแต่ยังมีพื้นฐานของความคิดความเชื่ออีกบางประการคือ
- เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
- เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
- เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
- สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
- พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน

การนำไปประยุกต์ใช้
เพื่อให้มีการรักษามาตรฐานวิชาชีพ เพื่อคงความสำคัญของวิชาชีพ ทุกวงการวิชาชีพจึงมีกลยุทธ์ในการใช้และปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน ขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ ตัวอย่างเช่นที่ (The Royal College of Anaesthetists, available at,mhtml: //G\ProfStand12.mht) ได้เน้นที่มาตรฐานวิชาชีพของตน ในการบริการที่ให้ผู้เรียนและสังคมที่ดีที่สุด ทั้งในระดับการบริการภายในและภายนอกสถาบัน ภาควิชาและหน่วยงานต่างๆ เช่น การสร้างหน่วยงานเป็นลักษณะคลีนิคที่ให้บริการที่หลากหลาย มีการตั้งหน่วยงานให้คำปรึกษาสาขาวิชาต่างๆนอกสถาบันทั่วประเทศ เพื่อให้บริการเชิงของการเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสำนักระเมินคุณภาพได้ประเมินให้เป็นสถาบันที่ได้รับการยกย่องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ จึงกล่าวได้ว่าการประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพ ความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย
สำหรับการใช้มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาก็ย่อมมีความต่างกันเช่นที่กล่าวข้างบนนี้เช่นกัน นอกนั้น ยังต้องขึ้นกับแนวความคิดความเชื่อของการกำหนดและการใช้มาตรฐานวิชาชีพที่มีความต่างระดับการศึกษา เช่น ระดับอนุบาลศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานการศึกษา ระดับการอาชีวศึกษา และระดับการอุดมศึกษาเป็นต้น อย่างไรก็ดีในฐานะที่คุรุสภามีความเกี่ยวข้องกับครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคคลอื่นทางการศึกษาทั่วประเทศ ก็ได้มีการดำเนินการหรือปฏิบัติการตามมาตรฐานการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุม ที่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพภายใต้บังคับแห่งข้อจำกัดและเงื่อนไขของคุรุสภา ดังนี้ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรสภา ๒๕๔๘ : ๓)
- ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพ โดยยื่นขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพที่คุรุสภากำหนด ผู้ไม่ได้รับอนุญาต หรือสถานศึกษาที่รับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา จะได้รับโทษตามกฎหมาย
- ต้องประพฤติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เพื่อดำรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถ และความชำนาญการตามระดับคุณภาพของมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพ
- บุคคลผู้ได้รับความเสียหายจากการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพ มีสิทธิกล่าวหา กรรมการคุรุสภา กรรมการมาตรฐานวิชาชีพ และบุคคลอื่นมีสิทธิกล่าวโทษผ็ประกอบวิชาชีพที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณได้
- เมื่อมีการกล่าวหาหรือกล่าวโทษ คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพอาจวินิจฉัยชี้ขาดให้ยกข้อกล่าวหา/กล่าวโทษ ตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพได้ และผู้ถูกพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตไม่สามารถประกอบวิชาชีพต่อไปได้
ในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ
1)การวิเคราะห์หลักสูตร
2) การวิเคราะห์ผู้เรียน
3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย 
4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน 
5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ
6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ 
7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
      จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้


แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓
สาระการเรียนรู้ที่ ๕ เรื่อง การเขียนตัวการันต์ เวลา ๑ ชั่วโมง
ใช้สอนในวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐-๑๐.๐๐ นาฬิกา
.............................................................................................................................................................
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            นักเรียนเขียนคำที่มีตัวการันต์หลังตัวสะกดได้ถูกต้องและนำไปใช้ในการเขียนในชีวิตประจำวันได้
จุดประสงค์การเรียนรู้
            ด้านความรู้
                        ๑.นักเรียนอธิบายหลักเกณฑ์การจำแนกตัวการันต์ได้
                        ๒.นักเรียนอธิบายลักษณะการเขียนคำที่มีตัวการันต์ได้ถูกต้อง
            ด้านทักษะ/กระบวนการ
๓.นักเรียนทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับตัวการันต์ได้
๔.นักเรียนอ่านและเขียนคำที่มีตัวการันต์ได้ร้อยละ  ๘๐  ของคำทั้งหมด
ด้านคุณลักษณะ
๕.นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
๖.นักเรียนเห็นคุณค่าความงดงามของภาษา
สาระการเรียนรู้
            สาระสำคัญ
            การเขียนคำที่มีตัวการันต์หลังตัวสะกด คือ การเรียนรู้หลักการใช้ไม้ทัณฑฆาต จะทำให้อ่าเขียนหนังสือได้ถูกต้อง สามารถช่วยให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
เนื้อหา/สาระ
            ตัวการันต์  คือ  คำที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับอยู่ข้างบน  พยัญชนะนั้นจะไม่ออกเสียง เช่น คำว่า จันทร์ วันศุกร์ พักตร์ ประสบการณ์ พิสูจน์ เถาวัลย์ ทุกข์ กษัตริย์ สัตว์ พยางค์ วรรณยุกต์ ฯลฯ
กระบวนการจัดการเรียนรู้
๑.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจากการเขียนตามคำบอก จำนวน ๑๐ คำ ๑๐ คะแนน
๒.สำรวจความพร้อม ความรู้พื้นฐานและประสบการณ์ของนักเรียนเกี่ยวกับการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวการันต์ โดยให้นักเรียนศึกษาจากบัตรคำ
            ๓.แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และแนะนำกิจกรรมการเรียนการสอน
            ขั้นที่ ๑ ขั้นสังเกต
            ๑.ครูให้นักเรียนเขียนตามคำบอก ตรวจคำตอบและเฉลยข้อที่ถูกต้อง
            ๒.ครูอ่านคำที่มีตัวการันต์ให้นักเรียนฟังและให้นักเรียนอ่านตาม
            ๓.ให้นักเรียนอ่านคำที่มีตัวการันต์พร้อมๆกัน
            ขั้นที่ ๒ ขั้นจำแนกความแตกต่าง
            ๑.ครูนำบัตรคำตัวการันต์ให้นักเรียนจำแนกลงตาราง

ตัวการันต์    ตัว
ตัวการันต์    ตัว
ตัวการันต์    ตัว








            ๒.ครูซักถามการจำแนกตัวการันต์จากนักเรียน
            ๓.ครูอธิบายเพิ่มเติมเรื่องตัวการันต์  ความหมายของตัวการันต์
            ขั้นที่ ๓ ขั้นระบุความคิดรวบยอด
            ๑.ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปลายสรุปความเข้าใจการจำแนกตัวการันต์
            ๒.ครูและนักเรียนสรุปความเข้าใจการอ่านและเขียนตัวการันต์
            ขั้นที่ ๔ ขั้นทดสอบและนำไปใช้
๑.ให้เขียนคำอ่านและบอกพยัญชนะตัวการันต์ของคำที่กำหนดให้
            ๒.ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๕ กลุ่ม โดยให้นักเรียนเข้าแถวและนับ ๑-๕ เมื่อนับเสร็จแล้วให้นักเรียนที่นับตัวเลขเหมือนกันแยกไปอยู่กลุ่มเดียวกัน ให้นักเรียนช่วยกันเขียนคำที่มีตัวการันต์ที่นักเรียนสัมผัสในชีวิตประจำวัน
            ๓.ให้นักเรียนหาคำตัวการันต์ที่มี ๑ , ๒ และ ๓ ตัว
            ๔.ให้นักเรียนฝึกอ่านคำการันต์ที่กำหนดให้และเลือกเขียนจำนวน ๑๐ คำ
๕.ทำแบบทดสอบหลังเรียน
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้
๑.แบบทดสอบก่อนเรียน
๒.บัตรคำตัวการันต์
๓.แบบฝึกทักษะ
            กิจกรรมที่๑ เขียนคำอ่านและบอกพยัญชนะตัวการันต์ของคำที่กำหนดให้
            กิจกรรมที่ ๒ หาคำตัวการันต์ต่อไปนี้มาให้มากที่สุด
            กิจกรรมที่ ๓ ฝึกอ่านคำตัวการันต์ต่อไปนี้
กิจกรรมที่ ๔ เขียนคำที่มีตัวการันต์ที่ชอบจำนวน  ๑๐  คำ
กิจกรรมที่ ๕ เขียนผิด    คำ  แก้    คำ
๔.แบบทดสอบหลังเรียน
วิธีการประเมินผล
            ๑.วิธีการวัด
v สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์
o   สังเกตการณ์ร่วมกิจกรรม
o   การจำแนกคำตัวการันต์
o   การตอบคำถาม
v ตรวจแบบฝึกทักษะ
v ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
๒.เครื่องมือที่ใช้วัด
v แบบสังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์
v แบบวิเคราะห์การทำแบบฝึกทักษะ
v แบบบันทึกผลการทำแบบฝึกทักษะ
v แบบบันทึกแบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน
๓. เกณฑ์การประเมิน/ระดับคุณภาพ
v ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๘๐
บันทึกผลหลังการสอน
๑.ทดสอบก่อนเรียน คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน คะแนนเฉลี่ย................คิดเป็นร้อยละ............
Ø คะแนนสูงสุด .............. คะแนน คิดเป็นร้อยละ .................. จำนวน ..................คน
Ø คะแนนต่ำสุด .............. คะแนน คิดเป็นร้อยละ .................. จำนวน ..................คน
Ø จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ย ........... คน คิดเป็นร้อยละ …………….
Ø จำนวนนักเรียนที่มีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ........... คน คิดเป็นร้อยละ ……………..
๒.ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
นักเรียนตั้งใจเรียน ทำงานที่ได้รับมอบหมายด้วยความรับผิดชอบ มีความสนุกสนาน เนื่องจากนักเรียนได้ปฏิบัติจริงตามขั้นตอนของกิจกรรม ทุกคนมีส่วนร่วมและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
๑.ผลการจัดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์
§  คะแนนเต็ม ๑๐ คะแนน คะแนนเฉลี่ย........................คิดเป็นร้อยละ.......................
§  นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ (๘๐%) จำนวน.................. คน คิดเป็นร้อยละ ……………...
§  นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ (๘๐%) จำนวน.............. คน คิดเป็นร้อยละ ……………...
๒.ผลการวิเคราะห์การทำแบบฝึกทักษะของนักเรียนตามเกณฑ์การประเมิน
§  ระดับ                 ดี          จำนวน .................... คน         คิดเป็นร้อยละ ……………...
§  ระดับ                 พอใช้   จำนวน .................... คน         คิดเป็นร้อยละ ……………...
§  ระดับ                 ปรับปรุงจำนวน .................... คน       คิดเป็นร้อยละ ……………...
๓.ผลการการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
·       ระดับ             ดี          จำนวน .................... คน         คิดเป็นร้อยละ ……………...
·       ระดับ             พอใช้   จำนวน .................... คน         คิดเป็นร้อยละ ……………...
·       ระดับ             ปรับปรุงจำนวน .................... คน       คิดเป็นร้อยละ …………….
๔.ปัญหา/ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข
·       ปัญหา/ลักษณะปัญหา
                        -
·       ข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไข
                        -
ลงชื่อ............................................................
(นางสาวกัญญารัตน์  ทองคำ)
นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ๐๔



ใบความรู้
ตัวการันต์



ตัวการันต์  คือ  คำที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับอยู่ข้างบน  พยัญชนะนั้นจะไม่ออกเสียง



ตัวอย่างคำที่มีไม้ทัณฑฆาตกำกับอยู่ข้างบน
เช่น คำว่า จันทร์ วันศุกร์ พักตร์ ประสบการณ์ พิสูจน์ เถาวัลย์ ทุกข์ กษัตริย์ สัตว์ พยางค์ วรรณยุกต์ กีตาร์ ดวงอาทิตย์ คนธรรพ์  เทศน์ โทรทัศน์ ชอล์ก พระจันทร์ เจดีย์ ปรางค์ ปี่พาทย์โทรศัพท์ ยักษ์ รูปลักษณ์ พระราชสาส์น พระสงฆ์ พราหมณ์         มอเตอร์ ศิลาฤกษ์ คอมพิวเตอร์เครื่องยนต์ คัมภีร์ ฯลฯ