Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
ก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ (Organization Theory)
..... แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20
..... ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ (If ……then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
..... จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้างจาก Henry L. Tosi)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบกลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
จากความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมจะขอแนะนำแนวทางในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้เป็นอีคิวขององค์กรด้วยแนวทางดังนี้  กำหนดลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดลักษณะของวัฒนธรรมองค์กรให้กำหนดจากวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร
 เพราะวิสัยทัศน์เปรียบเสมือนเป้าหมายสุดท้ายทเราอยากจะไปถึง สำหรับวัฒนธรรมองค์กรจะบอกเราว่าองค์กรต้องมีลักษณะใดจึงจะทำให้เดินทางไปถึงเป้าหมายได้เร็วและมีประสิทธิภาพ  
 วิเคราะห์ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมที่ต้องการจะมีกับวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
เมื่อเรากำหนดวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เรียบร้อยแล้ว ให้วิเคราะห์ดูว่าลักษณะของวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการนั้นในปัจจุบันองค์กรเรามีบ้างหรือยัง มีมากน้อยเพียงใด มีครอบหรือไม่ เพื่อที่จะประเมินว่าภารกิจในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีมากน้อยเพียงใด   
 กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร 
คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็น การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ 
  • การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง 
  • การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ  
สรุปว่า  ถ้าเราต้องการให้องค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีทั้งความฉลาดและอยู่รอดภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง เราจะต้องพัฒนาทั้งไอคิว(ประสิทธิภาพการบริหาร) และอีคิว(วัฒนธรรมองค์กร)ควบคู่กันไป จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถึงแม้วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่เราสามารถสัมผัสได้ และการแข่งขันในอนาคตวัฒนธรรมองค์กรจะกลายเป็นเครื่องมือการจัดการที่สำคัญที่จะบ่งชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางการแข่งขันบนเวทีของการค้าโลกที่หลากหลายวัฒนธรรม 
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้การประยุกต์ ใช้วัฒนธรรมองค์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก

กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้วัฒนธรรม องค์การในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกรณีศึกษาของประเทศไทย เช่น สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ
UPS และตัวอย่างของบริษัท Honda (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไป) ทำให้ตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การในการควบคุมพฤติกรรมพนักงาน
หลังจากการอบรมจึงได้นำเอาแนวคิดไป ประยุกต์ใช้ปฏิบัติอย่าง ชาญฉลาด โดยเริ่มจากการออกนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยกำหนดว่าในทุกสัปดาห์จะมีการประกาศผล "พนักงานที่มีรอยยิ้มให้กับลูกค้ามากที่สุด" รางวัลที่ได้ไม่ใช่เงินตรา แต่เป็นการ "ให้ความสำคัญ" (
Recognition) หรือ "ให้หน้า" ด้วยการมอบดอกกุหลาบสีแดงให้พร้อมกับแจกันที่สวยงาม โดยจะให้ทุกวันเป็นเวลา 2 เดือน ในตอนแรกพนักงานส่วนใหญ่มองว่าผู้จัดการเริ่มร้อนวิชาหลังจากจบการ อบรมจากนิด้า สัปดาห์ที่สองก็มีพนักงานยิ้มหวานของสาขาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน ซึ่งจะได้รับดอกไม้ประดับที่โต๊ะทุกวัน
จากเวลาผ่านไปหนึ่งเดือนพบว่ามี พนักงานที่มีดอกไม้ประดับที่โต๊ะจำนวน 4 คนจากพนักงานทั้งสิ้น 8 คน บรรยากาศการให้บริการเริ่มเคร่งเครียดมากขึ้นโดยเฉพาะบุคคลที่มีทัศนคติใน การให้บริการที่ไม่ดี เพราะทุกคนมีแจกันพร้อมดอกไม้ประดับที่โต๊ะทำงานเกือบทั้งหมด ในขณะที่ตัวเองไม่มีจึงเป็นการบอกใบ้ถึงความไม่เป็นมิตรกับพนักงานด้วยกัน และกับลูกค้า
จากบรรยากาศการทำงานที่มีการ ประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การในการควบคุมแบบไม่เป็นทางการนั้น พบว่าบุคคลที่มีทัศนคติไม่ดีต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งมีรอยยิ้มน้อยที่สุดหรือยิ้มยากที่สุดต้องเริ่มฝืนยิ้ม เพราะเป็นบุคคลเดียวที่ไม่มีดอกไม้บนโต๊ะ ที่จำต้องยิ้มเพราะวันหนึ่งมีลูกค้าถามว่า "พี่ครับ ทำไมโต๊ะพี่ถึงไม่มีดอกกุหลาบล่ะครับ ผมเห็นทุกคนมีดอกไม้เหมือนกันหมดเลย" ซึ่งก็คงเป็นการยากที่จะตอบลูกค้าว่าก็เพราะฉันยิ้มกับลูกค้าไม่เป็นไงล่ะ ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างของลูกศิษย์ที่ผ่านการอบรมศึกษาในเรื่องนี้แล้วได้ นำไปประยุกต์ใช้ โดยกลับมาเล่าให้ฟัง ซึ่งผู้เขียนต้องขอบคุณในเทคนิควิธีที่ผู้บริหารผู้นั้นนำไปใช้อย่างชาญฉลาด ในเชิงประยุกต์เป็นผลทำให้สาขาของธนาคารนั้นมีแต่รอยยิ้มเสมอมา
จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมองค์การของบริษัท
Polaroid ที่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดที่ว่าภาพถ่ายที่ดีต้องใช้ฟิล์มเท่านั้น Polaroid เป็นบริษัทแรกที่เป็นเจ้าของแนวคิดถ่ายรูปแล้วสามารถเห็นภาพทันที ซึ่งก็คือ Digital Picture ในปัจจุบัน แต่ด้วยค่านิยมที่ฝังแน่นเกินไปทำให้ Polaroid ที่ควรจะเป็น ผู้นำในเรื่อง Digital Picture กลับกลายเป็นบริษัทที่เกือบล้มละลาย ปล่อยให้บริษัท Sony และ บริษัท Canon กลายเป็นผู้นำแทนในเรื่องการถ่ายภาพที่สามารถเห็นภาพทันที
ที่มา        www.itedonline.net/itedaffi/index.php?option=com
                www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac
                www1.mod.go.th/opsd/wpcweb/.../km1.../know%20wpc21.doc
                www.sbdc.co.th/filedownload/culture_total.pdf
                www.sbdc.co.th/filedownload/culture_total.pdf
                http://thainews.prd.go.th

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่7

การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ
ครับสำหรับการจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพปัญหาอย่างหนึ่งที่พบได้บ่อยในหลายโรงเรียนนั้นก็คือ คือ การควบคุมดูแลนักเรียนให้อยู่ในระเบียบวินัยและตั้งใจเรียน แม้กระทั่งครูที่มีประสบการณ์ด้านการสอนที่มีความเชื่อมั่นในวิธีการควบคุมชั้นเรียน โดยนักเรียนต้องเชื่อฟังและอยู่ในระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นแนวทางที่ไม่สอดคล้องกับแนวการเรียนการสอนในปัจจุบันที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้นั้นๆ ได้คิดลงมือทำกิจกรรมอย่างกระตือรือร้น ตื่นตัว ตื่นใจ หรือมีใจจดจ่อผูกพันกับสิ่งที่ทำ มิใช่เพียง ทำไปให้เสร็จภารกิจเท่านั้น ดังนั้นการที่ครูจะจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมนั้น กิจกรรมนั้นจะต้องมีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่าง “active” คือช่วยให้ผู้เรียนรู้สึกมีความกระตือรือร้นตื่นตัว มีความจดจ่อ ผูกพันกับสิ่งที่ทำ เพื่อก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และครูที่สามารถดำเนินการดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จนั้นจึงได้รับการยอมรับว่าเป็น ครูมืออาชีพ
ดังนั้น ครูมืออาชีพจึงเป็นครูที่มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน มีความสามารถจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบมีประสิทธิภาพ รวมถึงต้องพัฒนาทักษะวิชาชีพของตนเองอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อมุ่งพัฒนาศักยภาพของนักเรียนอย่างแท้จริงดังนั้นการบริหารจัดการชั้นเรียนตลอดจนการสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นส่งเสริมให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้หรือสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นสิ่งที่ครูมืออาชีพต้องให้ความสำคัญและสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดการชั้นเรียน
คือ การจัดสภาพของห้องเรียนทางด้านกายภาพหรือการตกแต่งห้องเรียนด้วยวัสดุตกแต่งเพื่อเป็นการจูงใจนักเรียนให้มีความสนใจและตั้งใจเรียน นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนเท่านั้น หากแต่ต้องมีการ
สร้างสรรค์และเอาใจใส่สภาพบรรยากาศภายในห้องเรียนด้วยเช่นกัน ครูจึงเป็นบุคคลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในการรับหน้าที่เป็นผู้สร้างและส่งเสริมกระบวนการเรียนการสอน กระตุ้นความใฝ่รู้และใส่ใจในการศึกษาของผู้เรียน สร้างความมีระเบียบวินัยให้กับผู้เรียน
การจัดการชั้นเรียนมีความสำคัญด้วยเหตุผลหลายประการ คือ
         การเรียนรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้หรือเกิดได้น้อยถ้ามีสิ่งรบกวนในชั้นเรียนอยู่ตลอดเวลาด้วยปัญหาทางด้านพฤติกรรมของนักเรียนนักเรียนที่อยู่ในชั้นเรียนที่ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย สิ่งแวดล้อมในชั้นเรียนมีเสียงดังและสิ่งรบกวน หรือการจัดที่นั่งไม่เหมาะสมอาจเกิดสาเหตุให้เกิดปัญหาทางวินัยนำไปสู่การแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว หรือทำให้นักเรียนไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่
                ดังนั้น จะเห็นว่าการจัดการบริหารชั้นเรียนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนและร่วมกิจกรรมต่างๆ โดยมีครูเป็นผู้วางแผนและกระบวนการส่งเสริมทั้งทางด้านกายภาพ จิตวิทยา และสังคม โดยมีสอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow)ที่กล่าวว่ามนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานอย่างเป็นลำดับขั้น เริ่มตั้งแต่ขั้นความต้องการทางด้านร่างกาย ขั้นความต้องการความมั่นคง ขั้นความต้องการการยอมรับและยกย่องจากสังคมและขั้นความต้องการพัฒนาศักยภาพของตนอย่างเต็มที่ ทำให้ต้องการพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำให้ครูต้องเป็นผู้ช่างสังเกตว่านักเรียนมีความต้องการพื้นฐานในระดับใด และพยายามช่วยเหลือตอบสนองความต้องการของนักเรียน ให้ความเป็นอิสระและเสรี รวมทั้งจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียน เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้และรู้จักตนเอง
วิธีการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
การจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพนั้นคนที่เป็นครูควรยึดหลักดังต่อไปนี้
1. หลักประชาธิปไตย ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน ให้ความเสมอภาค ให้อิสระ ให้โอกาสแก่ทุกคนในการแสดงความคิดเห็น ขณะเดียวกันครูต้องใจกว้าง ยินดีรับฟังความเห็นของทุกคน และควรฝึกให้นักเรียนปฏิบัติตนตามสิทธิหน้าที่ รู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ให้รู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างประชาธิปไตย
2. หลักความยุติธรรม ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง นักเรียนจะเคารพศรัทธาครู และยินดีปฏิบัติตามกฎระเบียบของครู ยินดีปฏิบัติตามคำอบรมสั่งสอนของครู ตลอดจนไม่สร้างปัญหาในชั้นเรียน
3. หลักพรหมวิหาร 4 ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้
            เมตตา หมายถึง ความรักและเอ็นดุ ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข
            กรุณา หมายถึง ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
            มุทิตา หมายถึง ความยินดีด้วยเมื่อผู้อื่นได้ลาภยศ สุข สรรเสริญ
            อุเบกขา หมายถึง ความเที่ยงธรรม การวางตัวเป็นกลาง การวางใจเฉย
ถ้าครูทุกคนยึดหลักพรหมวิหาร 4 ในการปกครองชั้นเรียน นอกจากจะทำให้นักเรียนมีความเคารพรักศรัทธาครู และมีความสุขในการเรียนแล้วยังเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้แก่นักเรียนด้วย
4. หลักความใกล้ชิด การที่ครูแสดงความเอาใจใส่ ความสนใจ ให้ความใกล้ชิดกับ
นักเรียน เป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา วิธีการแสดงความสนใจนักเรียนทำได้หลายวิธี ซึ่งประกอบด้วย
1. ครูจะต้องรู้จักนักเรียนในชั้นทุกคน รู้จักชื่อจริง ชื่อเล่น ความสนใจของเด็กแต่ละคนเป็นต้นว่า งานอดิเรก มีพี่น้องกี่คน จุดเด่น จุดด้อย ของนักเรียนแต่ละคน
2. ครูจะต้องแสดงความสนใจในสารทุกข์สุขดิบของเด็กแต่ละคน เช่น หมั่นถามความเป็นไปของพี่น้อง ความคืบหน้าของการสะสมแสตมป์ คือ ไม่เพียงรู้แต่ว่าเด็กเป็นอะไรในข้อ 1 แต่รู้ข่าวคราวเคลื่อนไหวของสิ่งเหล่านั้นด้วย
3. ครูจะมอบเวลาของตนเพื่อเด็ก เวลาที่นอกเหนือจากงานสอน ได้แก่ เวลาเย็นหลังเลิกเรียน ช่วงพักระหว่างการเรียน เพื่อช่วยเด็กที่ต้องการการช่วยเหลือเป็นพิเศษ ว่าต้องการขอคำปรึกษา ต้องการขอคำแนะนำในการหารายได้พิเศษ ครูจะต้องพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กได้ตลอดเวล
4. ครูจะต้องใกล้ชิด สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้อง
สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ถ้าครูจะอบรมสั่งสอนเด็กเรื่องความซื่อสัตย์ ครูจะต้องปฏิบัติตนเป็นคนซื่อสัตย์ด้วยเช่นกัน กายสัมผัสก็เป็นสิ่งจำเป็น การจับต้องตัวบ้าง จะเป็นสื่อนำให้เด็กรู้สึกถึงความใกล้ชิดสนิทสนม
นำแนวคิดมาใช้ในการจัดการชั้นเรียนแบบมืออาชีพ
เราสามารถที่จะนำหลักการดังกล่าวมาใช้เพื่อที่จะเป็นแนวทางหรือแนวคิดในการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพของเราได้คือเราสามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน ถ้าปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปด้วยดี หมายถึง ทั้งครูและนักเรียนต่างมีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถาม ครูให้ความเป็นกันเองแก่นักเรียน ให้นักเรียนมีอิสระ และมีความสบายใจในการทำกิจกรรม บรรยากาศภายในห้องเรียนก็จะไม่ตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่รื่นรมย์ น่าเรียน น่าสอน ซึ่งจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี แนวทางในการสร้างความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบและเราก็สามารถที่นำการจัดชั้นเรียนแบบมืออาชีพไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วยครับ

กิจกรรรมที่6

ให้นักศึกษาอ่านบทความนี้ สรุปและแสดงความคิดเห็น มาตรฐานวิชาชีพ และนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไร 
ครับสำหรับมาตรฐานวิชาชีพและการนำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครูได้อย่างไรนั้นผมต้องบอกก่อนเลยว่า ทุกวิชาชีพย่อมต้องมีมาตรฐานของวิชาชีพนั้น เพื่อวัด หรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพ  การที่องค์กรด้านวิชาชีพต่างๆ ได้กำหนดให้มีมาตรฐานวิชาชีพของตน ถือเป็นภาระหน้าที่เพื่อความมุ่งประสงค์ในการรักษา ส่งเสริม และพัฒนาอาชีพของตนให้มีมาตรฐานสูงที่สุด โดยให้ผู้ปฏิบัติการ ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้องและสาธารณชนได้เห็นความสำคัญของการอาชีพนั้นๆ และเพื่อให้การอาชีพนั้นๆ สามารถคงอยู่ได้ด้วยความมีคุณค่า เป็นที่ยอมรับนับถือและได้รับการยกย่อง
         สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น คำว่า มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการศึกษาเป็นทั้งการสร้าง การพัฒนา รวมทั้งการเสริมให้บุคคลมีคุณภาพ มีศักยภาพ ที่จะเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของชุมชน สังคม และประเทศ

มาตรฐานวิชาชีพ หมายถึง จุดมุ่งหมายหลักทีจะสร้างแนวทางปฏิบัติ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ
วิชาชีพที่มีมาตรฐาน จึงได้รับการยกย่องให้เป็นวิชาชีพชั้นสูงเพราะผู้ประกอบวิชาชีพ นอกจากต้องมีความรู้และทักษะในวิชาชีพแล้วยังต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการและสาธารณชน จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่งใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษาอบรมมายาวนานเพียงพอ มีอิสระในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพที่เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์และจรรโลงวิชาชีพด้วย
มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาเป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องประพฤติปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดคุณภาพในการประกอบวิชาชีพ สามารถสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้แก่ผู้รับบริการจากวิชาชีพได้ว่า เป็นบริการที่มีคุณภาพ และตอบสังคมได้ด้วยว่า การที่กฎหมายให้ความสำคัญกับวิชาชีพทางการศึกษา และกำหนดให้เป็นวิชาชีพควบคุมโดยต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น เนื่องจากเป็นวิชาชีพที่มีลักษณะเฉพาะ ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญในการประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๙ ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาไว้ ๓ ด้าน เช่น

                ๑.มาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู มาตรฐานข้อนี้ ประกอบด้วย มาตรฐาน ๒ ส่วน ได้แก่
                มาตรฐานความรู้ หมายถึง ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพครู มีคุณวุฒิทางการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการศึกษา หรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิอื่นที่คุรุสภารับรอง
                มาตรฐานประสบการณ์วิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพครูจะต้องผ่านการฝึกทักษะและสมรรถนะของวิชาชีพครูในด้านการปฏิบัติการสอน รวมทั้งทักษะและสมรรถนะด้านการสอนสาขาวิชาเฉพาะในสถานศึกษาตามหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่า ๑ ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่คณะกรรมการคุรุสภากำหนด
๒. มาตรฐานการปฏิบัติงาน มีความหมายครอบคลุมมาตรฐานย่อยๆ ของการปฏิบัติงาน ๑๒ ประการด้วยกัน คือ
                - ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
                - ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดแก่ผู้เรียน
                - มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
                - พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง
                - พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
                - จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
                - รายงานผลกรพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
                - ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีกับผู้เรียน
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
                - ร่วมมือกับผู้อื่นในชุมชนอย่างสร้างสรรค์
                - แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
                - สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในทุกสถานการณ์ 
   ๓. มาตรฐานการปฏิบัติตน  หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับความประพฤติของผู้ปฏิบัติวิชาชีพ จะต้อง  ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณของมาตรฐานวิชาชีพครู ๕ ประการดังต่อไปนี้
                - จรรยาบรรณต่อตนเอง
                - จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
                - จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
                - จรรยาบรรณต่อสังคม 
   
พื้นฐานและแนวคิด
          โดยพื้นฐานและแนวความคิดความเชื่อของการมีมาตรฐานวิชาชีพ คือ
                - เป็นมาตรการของการให้ความสนับสนุนและช่วยเหลือผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อสามารถพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพเป็นทั้งรายบุคคลและเป็นกลุ่มบุคคล
                - เป็นมาตรฐานที่ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลื่อนตำแหน่งวิชาชีพ เพิ่มคุณวุฒิ คุณภาพ คุณสมบัติ รวมทั้งทักษะและเจตคติในการประกอบวิชาชีพ
                - เป็นมาตรการที่จะเพิ่มมาตรฐานในระดับวิชาชีพที่ทำอยู่ในด้านความรู้ความเข้าใจ และสมรรถนะของบุคคลให้มีความเป็นมืออาชีพในวิชาชีพยิ่งขึ้น เป็นต้น
          มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากเป็นมาตรฐานวิชาชีพที่ต้องประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพชั้นสูงทั่วไปแล้ว ยังต้องมีการปฏิบัติการวิชาชีพที่เกี่ยวกับบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญของประเทศที่สำคัญด้วยคือ (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ๒๕๔๘: ๑)
                - สร้างพลเมืองดีของประเทศ โยให้การศึกษาขึ้นพื้นฐานที่ประเทศต้องการ
                - พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                - สืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามขงอชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อรักษาความเป็นชาติไว้ให้มั่นคงและยาวนาน

 และสำหรับการนำไปประยุกต์ใช้นั้นจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพในรูปแบบและวิธีการที่ต่างๆ กัน นั้นขึ้นกับแต่ละสถาบัน องค์กร สมาคม หรือสภาวิชาชีพต่างๆ การประยุกต์ใช้มาตรฐานวิชาชีพ ย่อมขึ้นกับความต่างของวิชาชีพความต่างของขอบเขตการใช้มาตรฐานด้วย เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภา
             มาตรฐานวิชาชีพครู 
จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ  ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู
                เป็นตัวชี้วัดหรือประมาณค่าผู้ปฏิบัติการวิชาชีพ ตามมาตรฐานด้านความรู้ ทักษะ และประสบการณ์วิชาชีพและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ เพื่อให้เกิดความมั่นใจมนวิชาชีพของผู้ปฏิบัติ เพื่อให้การปฏิบัติงานอาชีพมีคุณภาพสูงสุด วิชาชีพใดๆ ย่อมให้บริการแก่สาธารณชน หรือองค์กรต่างๆ โดยต้องอาศัยความรู้ ความชำนาญเฉพาะ โดยมีมาตรฐานในการประกอบอาชีพที่ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องได้รับการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างเพียงพอก่อนที่จะประกอบอาชีพ

กิกรรที่5

  ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่องต้นแบบแห่งการเรียนรู้ แล้วสรุปลงในบล็อกของนักศึกษาสิ่งที่ได้คืออะไรและจะนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองได้อย่างไร
สิ่งที่ได้รับคือ

      ต้นแบบในวงการศึกษามากมาย ที่ได้ยินบ่อยมาก คือครูต้นแบบต่อมาก็มี โรงเรียนต้นแบบ ศึกษานิเทศก์ต้นแบบ และ ต่อ ๆ ไปก็จะมี ผู้บริหารต้นแบบ นักเรียนต้นแบบ ผู้ปกครองต้นแบบ ชุมชนต้นแบบ ภารโรงต้นแบบ ฯลฯ
            พระเทพโสภณ (ประยูร ธมมจิตโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
  พระคุณเจ้าได้สรุปความสำคัญของคำว่า ต้นแบบว่ามี 2 นัย
          นัยแรกคือต้นแบบในฐานะเป็นแม่แบบ เพื่อให้ผู้ดูแบบได้เอาอย่าง ศึกษาตามพฤติกรรมต้นแบบ แล้วทำตามแบบ เลียนแบบ ต่อมาก็อาจ ประยุกต์แบบ
            นัยที่สองคือ ต้นแบบในฐานะเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นกำลังใจแก่ผู้ดูแล กระตุ้นให้ผู้ดูแบบสร้างสรรสิ่งดีงาม ต้นแบบตามนัยนี้อาจไม่ต้องมีการถ่ายทอดจากต้นแบบสู่ผู้ดูแบบ    ไม่ต้องสอนกันตรง ๆ เพียงแค่ผู้ดูแบบ....ได้เห็น... ได้รับฟังต่อ ๆ กันมาได้รับรู้ก็เกิดความปลื้มปีติ ศรัทธาเชื่อมั่น เป็นขวัญกำลังใจ แม้ไม่รู้จัก แม้เพียงแค่มอง ผู้ดูแบบก็ได้อานิสงส์มากมาย แค่อยู่ให้เห็นก็เป็นแรงบันดาลใจมหาศาลพระคุณเจ้ายังกล่าวถึงการศึกษาด้วยว่า การศึกษาถ้าไม่มีแบบอย่างที่ดีเป็นไปไม่ได้ การศึกษาเป็นระบบกัลยาณมิตร เป็นพรหมจรรย์ การมีต้นแบบที่ดีย่อมเป็นกำลังใจ ครูควรต้องเป็นแบบอย่างที่ดีชี้นำทางสว่างแก่ศิษย์ ต้นแบบแห่งการเรียนรู้มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ คือ ต้นแบบสอนให้รู้ ต้นแบบทำให้ดู และต้นแบบอยู่ให้เห็น หากครูเป็นต้นแบบที่ดี เป็นกัลยาณมิตรของศิษย์และเพื่อนครู ก็ย่อมจะเกิดผลต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เกิดครูดี ศิษย์ดีต่อเนื่องขยายวงต่อ ๆ กันไป ผู้ที่มีวิญญาณแห่งต้นแบบการเรียนรู้ ย่อมจะไปเหน็ดเหนื่อยในการถ่ายทอดจุดเริ่มต้นของการเกิดแรงบันดาลใจในชีวิตผู้ดูแบบ คือการ ได้รู้ ได้ดู ได้เห็นต้นแบบ เกิดศรัทธาต่อต้นแบบ เกิดแรงบันดาลใจให้ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน เลียนแบบของต้นแบบ หากเราเผยแพร่ตัวแบบที่ไม่เหมาะสมต้นแบบชองการกระทำในอบายมุข ต้นแบบของการฉ้อราษฎร์ ต้นแบบของการหยาบคายในกิริยาและวาจา ต้นแบบของการประจบสอพลอ ฯลฯ สังคมจะดูต้นแบบที่น่าชื่นใจเป็นแรงบันดาลใจให้สร้างคุณภาพดีแก่เยาวชน แก่ประเทศชาติจากที่ไหน
               ต้นแบบต้องทำงานหนักและเหนื่อยทั้งเพื่อคงรักษาการเป็นต้นแบบ อีกทั้งถ่ายทอด ขยายเครือข่ายแก่ผู้ดูแบบ ทั้งอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ แต่ท่านเหล่านั้นคงไม่เหน็ดเหนื่อยต่อการสอนการเผยแพร่เพราะ.......ท่านมีวิญญาณแห่งต้นแบบ พวกเรามาร่วมเป็นกำลังใจให้ต้นแบบกันเถอะค่ะ ไม่ว่าท่านจะเป็นต้นแบบจากองค์กรไหน ท่านก็เป็นแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็นได้เสมอ ทั้งที่ท่านรู้ตัวและไม่รู้ตัว ท่าได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่นัก
นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเอง
     1.นำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
     2.นำมาปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น
     3. นำมาเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ตนเอง

กิจกรรที่4

ให้นักศึกษาอ่านบทความเรื่อง ภาวะผู้นำและการเปลี่ยนแปลง และสรุปสิ่งที่นักศึกษาอ่านได้ลงในบล็อกของนักศึกษา
ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง

    เราจะต้องปรับเปลี่ยนองค์กรอย่างไร เพื่อให้ได้มาซึ่งโครงสร้างองค์กรที่แบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิมที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน (Function) เป็นหลัก ทำอย่างไรผู้บริหารถึงจะเข้าใจว่าระบบขององค์กรโดยแท้จริงแล้วเป็นระบบที่มีชีวิต เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เป็นระบบที่จริงๆแล้วไม่อาจเขียนแทนได้ด้วยผังการไหลของงาน (Flowchart) หรือถ่ายทอดทุกอย่างผ่านคู่มือการดำเนินงาน (Procedure) หากแต่ว่าเป็นระบบที่ประกอบด้วยชีวิต จิตวิญญาณ ความรู้สึก ความสัมพันธ์ระหว่างกัน ที่มิอาจถ่ายทอดออกเป็นตัวหนังสือ หรือเขียนออกมาอยู่ในรูปแบบของเอกสารได้ทั้งหมด
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management)อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน
วิสัยทัศน์ที่วางไว้นั้นก็มักจะไร้ความหมาย ไม่มีน้ำหนัก ปราศจาก Momentum แต่ในทางตรงกันข้าม ถึงแม้วิสัยทัศน์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้อาจจะดูไม่ดึงดูดใจเท่าที่ควร แต่ถ้าหากคนมีความชอบ ความเชื่อ หรือศรัทธาในตัวผู้นำแล้ว การเปลี่ยนแปลงนั้นๆก็มีโอกาสที่จะสำเร็จได้มากทีเดียว
การสร้างการเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าวคงจะไม่ใช่เรื่องที่ง่าย หากเรายังใช้แต่หลักทางด้านการจัดการ (Management) อยู่ เพราะการจัดการนั้นจริงๆแล้วใช้ได้ผลดีเฉพาะกับสิ่งที่เป็นสิ่งของ (Things) เท่านั้น แต่เรื่องการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคน ตัวอย่างเช่น เวลาเราพูดถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร ก็เป็นเรื่องของคน การปรับเปลี่ยนระบบก็เกี่ยวกับคน การนำเทคโนโลยีมาใช้ก็เกี่ยวกับคนเช่นกัน ซึ่งเรื่องของคนนั้นหากจะให้ได้ผลแล้วจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ (Leadership) มากกว่าที่จะใช้การจัดการ ภาวะผู้นำหรือความสามารถในการนำนี้ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงสำเร็จ

การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เราทุกคนคงยอมรับว่าไม่มียุคสมัยใดที่การเปลี่ยนแปลงจะรวดเร็วและมีผลกระทบรุนแรงเท่าในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงได้สร้างหายนะให้กับองค์กรหลายแห่งไม่เว้นแม้กระทั้งองค์กรที่เคยประสบความสำเร็จมาในอดีต ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงก็ได้สร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับหลายองค์กรเช่นกัน ประเด็นเรื่องการอยู่รอดและการเปลี่ยนแปลงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยตรง ดังคำกล่าวของ ชาร์ล ดาร์วิน ที่ว่า "ผู้ที่อยู่รอด มิใช่เป็นสายพันธ์ (Species) ที่แข็งแรงที่สุดหรือฉลาดที่สุด หากแต่ว่าเป็นผู้ที่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้ดีที่สุดต่างหาก" 

วันจันทร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 3



ประวัติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร. สังคม  ภูมิพันธุ์
……………………………………..
ชื่อ  นายสังคม  ภูมิพันธุ์
ตำแหน่งทางวิชาการ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ระดับ  8
ตำแหน่งทางการบริหาร  รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา
สังกัดภาควิชา  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วัน  เดือน  ปีเกิด  11  กุมภาพันธ์  .. 2493  สถานภาพสมรส  แต่งงานแล้ว  มีบุตรชาย  2  คน
ที่อยู่ปัจจุบัน  492/60  ถนนคลองสมถวิล  ตำบลตลาด  อำเภอเมือง  จังหวัดมหาสารคาม  44000
โทรศัพท์ (043) 722-498
E-mail  sam@msu.ac.th

ประวัติการศึกษา


คุณวุฒิ
ปี... ที่จบ
ชื่อสถานศึกษา
ปริญญาเอก
Ph.D.(Industrial  Education)
2525
iowa  State  University, USA
ปริญญาโท
M.S. (Industrial Education; Concentrate  in  Mass Communication)
2521
Bemidji  State  University,  USA
ปริญญาตรี
กศ.(ภาษาอังกฤษ)

วิทยาลัยวิชาการศึกษา มหาสารคาม


ประวัติการทำงาน

                1. ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประจำแผนก  ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม
 (ช่วยปฏิบัติงานภาควิชาภาษาอังกฤษ)  เมื่อวันที่  2  มิถุนายน  .. 2518
                2. ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม  เมื่อวันที่  16  ธันวาคม  .. 2525 (. 18 หน้า  17)
                3. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ระดับ  8
                4. ตำแหน่งอื่น ๆ
4.1      กรรมการสภาอาจารย์กลาง  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (..2525-2526)
4.2      ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษและต่างประเทศ (.. 2530-2533)
4.3      หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ (.. 2527 – 2530)
4.4      กรรมการจัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียง  FM  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
4.5      ผู้ทรงคุณวุฒิสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (.. 2538-ปัจจุบัน)
4.6      ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาหลักสูตรปริญญาโทวิชาเอกไทยนิเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
เลย
4.7      กรรมการศูนย์วิจัยและพัฒนาคอมพิวเตอร์การศึกษา (.ดร. บุญถิ่น  อัตถากร) 
คณะศึกษาศาสตร์
4.8      ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน (.. 2537 – 2538)
4.9      ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาหลักสูตรอบรมคณะกรรมการโรงเรียน  สำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาแห่งชาติ (.. 2528)
4.10 อาจารย์พิเศษวิชาสื่อการสอน และวิชาทฤษฎีสื่อสารวิทยาลัยพยาบาลศรี
มหาสารคาม (2526- 2532)
4.11 ประธานและกรรมการควบคุมปริญญานิพนธ์ (.. 2532-ปัจจุบัน)
4.12 กรรมการโครงการดำเนินการสอนปริญญาโทวิชาเอกการศึกษาผู้ใหญ่ คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (.. 2535-2540)
                        4.13 อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม (.. 2527 – 2530)
                        4.14 อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด (.. 2527 – 2530)
                        4.15 อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยรามคำแหง (.. 2527-2528)
                        4.16 อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (.2527- 2529)
4.17      กรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ (.. 2532 – ปัจจุบัน)
4.18      กรรมการพิจารณษผลงานทางวิชาการ ประจำจังหวัดมหาสารคาม (.. 253
ปัจจุบัน)
4.19      กรรมการสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย (.. 2538 – ปัจจุบัน)
4.20      หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา(.. 2531- 2537)
4.21      ที่ปรึกษาประธานคณะกรรมาธิการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วุฒิสภา
(ปัจจุบัน)

ผลงานทางวิชาการ

1.              ตำราและเอกสารประกอบการสอน
1.1 กระบวนการสื่อสาร : ทฤษฎีและปฏิบัติ แหล่งพิมพ์ อัดสำเนา ปีที่พิมพ์  2530  จำนวน 179  หน้า  เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ  100
1.2       การถ่ายภาพ  แหล่งพิมพ์  อัดสำเนา ปีที่พิมพ์  2530 จำนวน  211  หน้า  เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ 100
1.3       สื่อประสมโปรแกรม  แหล่งพิมพ์  อัดสำเนา  ปีที่พิมพ์  2536  จำนวน  125 หน้าเป็นเจ้าของผลงานร้อยละ 100
1.4  นวัตกรรมการศึกษา  แหล่งพิมพ์ อัดสำเนา ปีที่พิมพ์ 2536  จำนวน 130  หน้า  เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ  100
1.5  การออกแบบสาร  แหล่งพิมพ์ อัดสำเนา ปีที่พิมพ์ 2536  จำนวน  100  หน้า  เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ 100
1.6  การเก็บข้อมูลทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ด้วยภาพถ่าย  แหล่งพิมพ์ อัดสำเนา ปีที่พิมพ์  2536  จำนวน 175  หน้า เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ 100
1.7       ภาพและเสียง  แหล่งพิมพ์ อัดสำเนาปีที่พิมพ์  2536  จำนวน  130  หน้า  เป็น
เจ้าของผลงานร้อยละ  100
1.8  การผลิตรายการโทรทัศน์  แหล่งพิมพ์ อัดสำเนา ปีที่พิมพ์  2536 จำนวน  198 หน้า เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ  100
1.9  ความคิดวิจารณญาณ  แหล่งพิมพ์  อัดสำเนา ปีที่พิมพ์  2536  จำนวน  150  หน้า เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ 100
1.10  ความคิดเป็นเลิศ  แหล่งพิมพ์  อัดสำเนา  ปีที่พิมพ์  2536  จำนวน  210  หน้า เป็นเจ้าของผลงานร้อยละ 100
1.11  การเขียนเพื่อการสื่อสาร  แหล่งพิมพ์  อัดสำเนา  ปีที่พิมพ์  2536  จำนวน  125  หน้าเป็นเจ้าของผลงานร้อยละ 100
1.12เทคโนโลยีการสอน  แหล่งพิมพ์ อัดสำเนา ปีที่พิมพ์  2536  จำนวน 125  หน้าเป็นเจ้าของผลงานร้อยละ  60
1.13 สื่อพื้นบ้าน  แหล่งพิมพ์ อัดสำเนา  ปีที่พิมพ์  2536  จำนวน  180  หน้า เป็นเจ้าของผล
งานร้อยละ  100 
1.14ผลิตบทเรียน E-Learning  6  รายวิชา

1                 บทความทางวิชาการ
1.12วิดีโอเทปวารสารวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน  มศว  มหาสารคาม ปีที่  2
ฉบับที่  1  มกราคม- มิถุนายน 2530,  10  หน้า
1.13การสอนงาน  เอกสารประกอบคำบรรยายการอบรมผู้บริหารระดับสูงของ
ธนาคารกสิกรไทย ณ จังหวัดขอนแก่น  2535,  20 หน้า
1.14การศึกษาแนวใหม่  เอกสารประกอบคำบรรยายการสัมมนาอาจารย์คณะ
ศึกษาศาสตร์ มศว มหาสารคาม ณ  จังหวัดชัยภูมิ 2535,  5  หน้า
                                2.4  การประชาสัมพันธ์ในงานตำรวจ  เอกสารประกอบคำบรรยายการอบรมนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร    จังหวัดมหาสารคาม  2537, 15  หน้า
2.5  การผลิตสไลด์ประกอบเสียง  เอกสารประกอบคำบรรยายการอบรมครู-อาจารย์
โรงเรียนจ่าอากาศ  ณโรงเรียนจ่าอากาศ กทม,  2538,   21 หน้า
2.6      การวิจัย  เอกสารประกอบการอภิปรายทั่วไปในการประชุมสัมมนาอาจารย์
มศว  มหาสารคาม    จังหวัดระยอง,  2537, 18  หน้า
                                2.7 “เทคนิคการสอน  เอกสารประกอบคำบรรยายการอบรมอาจารย์ใหม่  มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2538, 20  หน้า
                                2.8 “เทคนิคการผลิตสื่อ  เอกสารประกอบคำบรรยายการประชุม อบรม  สัมมนา  หรือในลักษณะอื่น ๆ  ของหน่วยงานการศึกษา สาธารณะสุข, 15  หน้า
                                2.9  สื่อพื้นบ้านของชาววาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม  หนังสือที่ระลึกของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน จังหวัดมหาสารคาม  ในงานพระราชพิธีทรงเปิดอาคารหอสมุด  หลวงปู่ศรีมหาวิโร  อำเภอวาปีปทุม  จังหวัดมหาสารคาม,  2538 , 20  หน้า

2                 ผลงานวิจัย
2.12ภาพลักษณ์นักวิชาการของนิสิตบัณฑิตศึกษา  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
ดำเนินการ พ.. 2534 – 2535  อยู่ในขั้นการวิเคราะห์ข้อมูล (งานวิจัยส่วนตัว)
                                3.2  การศึกษารูปแบบการปลูกฝังคุณธรรม  จริยธรรม ของนักเรียน นักศึกษา  ทุนวิจัยจากกรรมการศาสนา  ปีงบประมาณ   2537  (หัวหน้าโครงการ)
                                3.3  การศึกษาแนวทางการเผยแพร่ศีลธรรม  ทุนวิจัยจากกรมการศาสนา  ปีงบประมาณ  2537 (คณะทำงาน)
                                3.4 “การศึกษารูปแบบของศูนย์วิชาการ  ทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ  ปีงบประมาณ  2534 (คณะทำงาน)
                                3.5 “สื่อประสมโปรแกรม  ทุนวิจัยกระทรวงสาธารณะสุข ปีงบประมาณ  2537  (ที่ปรึกษา)


ประสบการณ์ด้านการบริหารงาน

1.             รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา (.. 2547-ปัจจุบัน)
2.             รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และกิจการพิเศษ (.. 2546-2547)
3.             รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนา (.. 2543 – 2546)
4.    รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร (.. 2540-2543)
5.    รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ (.. 2539- 2540)
6.    รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ (.. 2539- 2540)
7.    ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษและต่างประเทศ (.. 2530– 2533)
8.   หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ (.. 2528 – 2530)
9.   หัวหน้าภาควิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา มศว มหาสารคาม (.. 2531-2537)

ประสบการณ์วิชาชีพ

                1. ได้รับทุนจาก Asia  Foundation  ให้เข้าร่วมประชุมสัมมนาของสมาคม AEJ (Association  for  Education  in  Journalism)    University  of  Wisconsin  at  Madison  (..  2521)
                2.  เป็นสมาชิกสมาคม  AEJ (.. 2521 – 2523)
                3.  เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐบาลเกี่ยวกับ  การสื่อสาร  เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ประชาสัมพันธ์ (.. 2526- ปัจจุบัน)
      4.  เป็นกรรมการสมาคมเทคโนโลยีการศึกษาแห่งประเทศไทย (.. 2538)
             5. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิสำนักวิทยบริการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (.. 2538 – ปัจจุบัน)
             6. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาหลักสูตรปริญญาโทวิชาเอก  ไทยนิเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎ
เลย
             7. เป็นกรรมการศูนย์วิจัยและพัฒนาคอมพิวเตอร์การศึกษา (.ดร. บุญถิ่น  อัตถากร)  คณะ
ศึกษาศาสตร์
8.  เป็นอาจารย์พิเศษของวิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม (.. 2526 – 2532)
9. เป็นวิทยากรอบรมผู้บริหารระดับกลางของทบวงมหาวิทยาลัย

ประสบการณ์อื่น ๆ

1.             เคยเป็นนักดนตรีและหัวหน้าดนตรี วศ มหาสารคาม วงดนตรี  มศว มหาสารคาม  และ
วงดนตรีมิตรระอา ของมหาวิทยาลัย  ศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
                2. ช่วยงานด้านมวลชนสัมพันธ์ให้กับสถานีตำรวจภูธร  จังหวัดมหาสารคาม และได้รับประกาศนียบัตรพร้อมเหรียญ ยกย่องให้เป็น  นักกระโดดร่มกิตติมศักดิ์  ชั้น  1  จากอธิบดีกรมตำรวจ
(.. 2532)
3. เป็นตัวแทนของจังหวัดมหาสารคามเข้าร่วมการฝึกอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว  ตาม
โครงการอีสานเขียว  จัดโดยคณะโบราณคดี  มหาวิทยาลัยศิลปากร (.. 2531)
                4. เป็นหัวหน้าคณะอาจารย์ศึกษาและดูงาน    สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (.. 2537)
                5. ศึกษาและดูงานด้านการบริหารของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียภายใต้โครงการ TUAS
(Thai  University  Administrator  Shadowings) รุ่นแรก เป็นเวลา 3 เดือน (.. 2538)
6. เป็นหัวหน้าคณะอาจารย์ศึกษาดูงาน  และอบรมปฏิบัติการทางการสอน ณ  University of
Melburne  ประเทศออสเตรเลีย  (.. 2547)
7. กรรมการบริหารชมรมนักบริหารมหาวิทยาลัยอุดมศึกษาร่วมกับ Washington  State 
University  และ  University of  Idaho (UPAL)  ปัจจุบัน

นโยบายการจัดการศึกษา

1.             เน้นการจัดการศึกษาเชิงรุกให้มากขึ้น
2.             ส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการเรียน
3.             ส่งเสริมงานด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลง
4.             สนับสนุนและส่งเสริมการใช้สื่อ Digital  โดยเฉพาะ  E-Learning  ให้มากขึ้น
5.             เน้นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น  ภูมิภาค  และนานาชาติ
                                
  
สิ่งที่ประทับใจ 
         ผมประทับใจในความสามารถของท่านมากเพราะท่านเป็นคนขยันอดทนมานะบากบันสู้ไม่ท้อถอยอะไรง่ายมีความรับผิดชอบสูงผมจึงประทับใจ

ที่มาจาก  http://www.plazajob.com/rsearch.php?keyword