Powered By Blogger

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่8

สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
ก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกันและยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ (Organization Theory)
..... แนวความคิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลายเป็นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20
..... ทฤษฎีเป็นเพียงนามธรรมที่อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิงวิทยาศาสตร์ว่า ถ้าทำ และหรือ เป็นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบนี้ (If ……then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึงผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน
..... จากระยะเวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปัจจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและทฤษฎีองค์การออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้างจาก Henry L. Tosi)
1. ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
2. ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory)
3. ทฤษฎีสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
แนวทางพัฒนาองค์การ
การพัฒนาองค์การ หมายถึง ความพยายามอย่างมีแผนและต่อเนื่อง เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั่วทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมขององค์การเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การ ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบและสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและต้องใช้เครื่องมือและเทคนิคทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ ประกอบกระบวนการวิจัยเชิงแก้ปัญหาเป็นแม่แบบกลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
จากความสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมจะขอแนะนำแนวทางในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรเพื่อให้เป็นอีคิวขององค์กรด้วยแนวทางดังนี้  กำหนดลักษณะของวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดลักษณะของวัฒนธรรมองค์กรให้กำหนดจากวิสัยทัศน์และภารกิจขององค์กร
 เพราะวิสัยทัศน์เปรียบเสมือนเป้าหมายสุดท้ายทเราอยากจะไปถึง สำหรับวัฒนธรรมองค์กรจะบอกเราว่าองค์กรต้องมีลักษณะใดจึงจะทำให้เดินทางไปถึงเป้าหมายได้เร็วและมีประสิทธิภาพ  
 วิเคราะห์ช่องว่างระหว่างวัฒนธรรมที่ต้องการจะมีกับวัฒนธรรมที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
เมื่อเรากำหนดวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์เรียบร้อยแล้ว ให้วิเคราะห์ดูว่าลักษณะของวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการนั้นในปัจจุบันองค์กรเรามีบ้างหรือยัง มีมากน้อยเพียงใด มีครอบหรือไม่ เพื่อที่จะประเมินว่าภารกิจในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรมีมากน้อยเพียงใด   
 กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร 
คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็น การกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ 
  • การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง 
  • การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ  
สรุปว่า  ถ้าเราต้องการให้องค์กรของเราเป็นองค์กรที่มีทั้งความฉลาดและอยู่รอดภายใต้การแข่งขันที่รุนแรง เราจะต้องพัฒนาทั้งไอคิว(ประสิทธิภาพการบริหาร) และอีคิว(วัฒนธรรมองค์กร)ควบคู่กันไป จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ถึงแม้วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้แต่เราสามารถสัมผัสได้ และการแข่งขันในอนาคตวัฒนธรรมองค์กรจะกลายเป็นเครื่องมือการจัดการที่สำคัญที่จะบ่งชี้ให้เห็นถึงความได้เปรียบหรือเสียเปรียบทางการแข่งขันบนเวทีของการค้าโลกที่หลากหลายวัฒนธรรม 
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้การประยุกต์ ใช้วัฒนธรรมองค์การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในการนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก

กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้วัฒนธรรม องค์การในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในกรณีศึกษาของประเทศไทย เช่น สาขาของธนาคารแห่งหนึ่งในประเทศไทยผู้จัดการพยายามพัฒนาพนักงานให้มีความ สนใจลูกค้ามากขึ้น เพราะพบว่าพนักงานมักจะให้บริการแก่ลูกค้า "แบบขอไปที" หรือ "เสียไม่ได้" กล่าวคือ ไม่เคยมีรอยยิ้ม การทำงานก็จะทำไปตามหน้าที่ การให้บริการล่าช้า เป็นการทำงานตามใจตัวเอง ส่งผลให้ลูกค้าตำหนิการให้บริการอย่างมาก ผู้จัดการสาขาท่านนั้นได้มีโอกาสเข้ารับการอบรม ใน หัวข้อ วัฒนธรรมองค์การ และได้ฟังการบรรยายตัวอย่างของ
UPS และตัวอย่างของบริษัท Honda (รายละเอียดอยู่ในหัวข้อถัดไป) ทำให้ตระหนักถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การในการควบคุมพฤติกรรมพนักงาน
หลังจากการอบรมจึงได้นำเอาแนวคิดไป ประยุกต์ใช้ปฏิบัติอย่าง ชาญฉลาด โดยเริ่มจากการออกนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน โดยกำหนดว่าในทุกสัปดาห์จะมีการประกาศผล "พนักงานที่มีรอยยิ้มให้กับลูกค้ามากที่สุด" รางวัลที่ได้ไม่ใช่เงินตรา แต่เป็นการ "ให้ความสำคัญ" (
Recognition) หรือ "ให้หน้า" ด้วยการมอบดอกกุหลาบสีแดงให้พร้อมกับแจกันที่สวยงาม โดยจะให้ทุกวันเป็นเวลา 2 เดือน ในตอนแรกพนักงานส่วนใหญ่มองว่าผู้จัดการเริ่มร้อนวิชาหลังจากจบการ อบรมจากนิด้า สัปดาห์ที่สองก็มีพนักงานยิ้มหวานของสาขาเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งคน ซึ่งจะได้รับดอกไม้ประดับที่โต๊ะทุกวัน
จากเวลาผ่านไปหนึ่งเดือนพบว่ามี พนักงานที่มีดอกไม้ประดับที่โต๊ะจำนวน 4 คนจากพนักงานทั้งสิ้น 8 คน บรรยากาศการให้บริการเริ่มเคร่งเครียดมากขึ้นโดยเฉพาะบุคคลที่มีทัศนคติใน การให้บริการที่ไม่ดี เพราะทุกคนมีแจกันพร้อมดอกไม้ประดับที่โต๊ะทำงานเกือบทั้งหมด ในขณะที่ตัวเองไม่มีจึงเป็นการบอกใบ้ถึงความไม่เป็นมิตรกับพนักงานด้วยกัน และกับลูกค้า
จากบรรยากาศการทำงานที่มีการ ประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การในการควบคุมแบบไม่เป็นทางการนั้น พบว่าบุคคลที่มีทัศนคติไม่ดีต่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งมีรอยยิ้มน้อยที่สุดหรือยิ้มยากที่สุดต้องเริ่มฝืนยิ้ม เพราะเป็นบุคคลเดียวที่ไม่มีดอกไม้บนโต๊ะ ที่จำต้องยิ้มเพราะวันหนึ่งมีลูกค้าถามว่า "พี่ครับ ทำไมโต๊ะพี่ถึงไม่มีดอกกุหลาบล่ะครับ ผมเห็นทุกคนมีดอกไม้เหมือนกันหมดเลย" ซึ่งก็คงเป็นการยากที่จะตอบลูกค้าว่าก็เพราะฉันยิ้มกับลูกค้าไม่เป็นไงล่ะ ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างของลูกศิษย์ที่ผ่านการอบรมศึกษาในเรื่องนี้แล้วได้ นำไปประยุกต์ใช้ โดยกลับมาเล่าให้ฟัง ซึ่งผู้เขียนต้องขอบคุณในเทคนิควิธีที่ผู้บริหารผู้นั้นนำไปใช้อย่างชาญฉลาด ในเชิงประยุกต์เป็นผลทำให้สาขาของธนาคารนั้นมีแต่รอยยิ้มเสมอมา
จากตัวอย่างสามารถสรุปได้ว่า วัฒนธรรมองค์การใดจะประสบความสำเร็จสูงสุดได้ ผู้บริหารระดับสูงจะต้องกระทำตัวเป็นตัวอย่างก่อน ในขณะเดียวกันต้องมีความตั้งใจจริง และมีความผูกพันอย่างจริงจังในการสร้างให้เกิดบรรยากาศของการควบคุมโดยใช้ วัฒนธรรมองค์การ ที่สำคัญควรมีการปรับวัฒนธรรมองค์การตลอดเวลา เพราะการปลูกฝังค่านิยมให้ฝังแน่นอย่างถาวรอาจทำให้วัฒนธรรมนั้นขาดการพัฒนา ปรับปรุงให้เหมาะสมลงตัวกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ตัวอย่างเช่น วัฒนธรรมองค์การของบริษัท
Polaroid ที่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดที่ว่าภาพถ่ายที่ดีต้องใช้ฟิล์มเท่านั้น Polaroid เป็นบริษัทแรกที่เป็นเจ้าของแนวคิดถ่ายรูปแล้วสามารถเห็นภาพทันที ซึ่งก็คือ Digital Picture ในปัจจุบัน แต่ด้วยค่านิยมที่ฝังแน่นเกินไปทำให้ Polaroid ที่ควรจะเป็น ผู้นำในเรื่อง Digital Picture กลับกลายเป็นบริษัทที่เกือบล้มละลาย ปล่อยให้บริษัท Sony และ บริษัท Canon กลายเป็นผู้นำแทนในเรื่องการถ่ายภาพที่สามารถเห็นภาพทันที
ที่มา        www.itedonline.net/itedaffi/index.php?option=com
                www.kmitnbxmie8.com/index.php?lay=show&ac
                www1.mod.go.th/opsd/wpcweb/.../km1.../know%20wpc21.doc
                www.sbdc.co.th/filedownload/culture_total.pdf
                www.sbdc.co.th/filedownload/culture_total.pdf
                http://thainews.prd.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น